วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

ผลไม้


หน่วยผลไม้
กิจกรรมหรรษา
อุปกรณ์
1.ฝรั่ง 10 ลูก
2.ตะกร้า 4 ใบ
ขั้นตอนตอนการทำกิจกรรม
1. ครูนำฝรั่งขึ้นมา 2 ลูกและถามเด็กๆว่า เด็กรู้จักสิ่งที่ครูนำมาหรือไม่
2. ครูถามเด็กๆ ต่อไปว่า ฝรั่ง 2 ลูกนี้มีลักษณะอย่างไร
3. แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กัน
4. ครูวางข้อตกลงและกติกาการเล่นเกมโดย
4.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มยืนเรียงแถวตอนลึกโดยมีตะกร้าฝรั่งวางไว้หัวแถว และวางตะกร้าเปล่าออกไป 5 เมตร
4.2 ครูเป่านกหวีดให้สัญญาณ แล้วให้เด็กคนที่อยู่หัวแถวแต่และแถวหยิบฝรั่งที่อยู่ในตะกร้าที่อยู่หัวแถวไปใส่ในตะกร้าอีกใบที่เตรียมไว้และวิ่งกับไปหัวแถวใหม่และคนที่ 2 และคนต่อ ๆ ไปก็ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าฝรั่งจะหมดตะกร้า
4.3 ถ้าใครทำฝรั่งหลุดมือต้องวิ่งกลับมาเอาฝรั่งลูกใหม่มาใส่ตะกร้าแทน
4.4 ทีมใดนำฝรั่งใส่ตะกร้าได้หมดก่อนทีมนั้นเป็นฝ่ายชนะ
4.5 จากนั้นให้แต่ละทีมนับดูว่าฝรั่งในตะกร้าของตัวเองมีกี่ลูก

สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวเกศสิณี เพิ่มญาติ
2.นางสาวจิราภรณ์ ใจกล้า
3.นางสาวสะกาวเดือน สงค์มา
4.นางสาวทิตติยา เข็มภูเขียว

แผนการจัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2
หน่วย ผลไม้ เรื่อง ลักษณะผลไม้
วันที่ 26 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 20 นาที
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (ดุษฎี อภิญญาคม)
สาระสำคัญ
ผลไม้มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกันทั้งในด้านรูปร่าง ลักษณะ สี ผิว รสชาติ และส่วนประกอบแตกต่างกัน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กรู้จักชื่อของผลไม้
2. เพื่อให้เด็กรู้จักสีของผลไม้
3. เด็กสามารถจัดหมวดหมู่สีของผลไม้ได้
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
- ชื่อและลักษณะของผลไม้ชนิดต่าง ๆ
ประสบการณ์สำคัญ
- เด็กรู้จักชื่อและสีของผลไม้
กิจกรรม
ขั้นนำ
- ครูท่องคำคล้องจงพร้อมทำท่าทางประกอบ “ผลไม้บ้านเรา”
- ครูร่วมสนทนาถึงผลไม้ที่มีอยู่ในคำคล้องจอง โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- ผลไม้ที่มีอยู่ในคำคล้องจองมีอะไรบ้าง?
ขั้นสอน
- ครูขอตัวแทนเด็กจำนวน 5 คน เพื่อมาหยิบผลไม้ในตะกร้า
- เมื่อเด็กหยิบผลไม้ขึ้นมาแล้ว ให้เด็กหันไปหาเพื่อน เพื่อบอกสีของผลไม้ชนิดที่ตนจับขึ้นมาได้
จากนั้นให้ไปวางตรงกับตำแหน่งของกระดาษสีโปสเตอร์ที่ตรงกัน เพื่อจัดหมวดหมู่สีของผลไม้
ขั้นสรุป
- ครูและเด็กร่วมกันสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นแผนผังความคิด ถึงผลไม้ที่เด็กชอบทาน
สื่อการเรียนรู้-แหล่งเรียนรู้
- คำคล้องจอง “ผลไม้บ้านเรา”
- ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น แอปเปิล ส้ม กล้วยน้ำว้า มะม่วง ชมพู่ เป็นต้น
- ตะกร้าใส่ผลไม้
การวัดและประเมินผล
วิธีการวัด
- สังเกตจากการตอบคำถาม สนทนาซักถาม และแสดงความคิดเห็น
- สังเกตการแสดงออกและคิดอย่างมีเหตุผล
เครื่องมือวัด
- แบบสังเกตพฤติกรรม
เกณฑ์การประเมินผล
- เด็กสามารถตอบชื่อและสีของผลไม้ถูกต้อง 3 ใน 5 ชนิด
- เด็กจัดหมวดหมู่สีของผลไม้ได้ถูกต้องอย่างน้อย 2 สี

ภาคผนวก
คำคล้องจอง ผลไม้บ้านเรา
สำอางค์ สืบค้า

มะพร้าวบ้านเรา มีเนื้อขาว ๆ อร่อยชื่นใจ
ทุเรียนลำไย ลูกใหญ่หวานดี
อีกกล้วยหอม กล้วยน้ำว้า ปลูกได้ทุกที่
มะม่วงลิ้นจี่ รสดีหวานเปรี้ยว
สับปะรด มะละกอ กระท้อนห่อ ส้มเขียว
หวาน ๆ เปรี้ยว ๆ อร่อยจริงเอย


หน่วยผลไม้
กิจกรรม ส่วนประกอบของผลไม้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเด็กสามารถแบ่งส่วนประกอบของผลไม้ได้จากส่วนต่างๆ
2. เพื่อให้เด็กสามารถแบ่งส่วนที่เป็นเนื้อของผลไม้ได้
3. เพื่อให้เด็กสามารถแบ่งส่วนที่เป็นเมล็ดของผลไม้ได้

ขั้นนำ
- ครูอธิบายกิจกรรมและแนะนำผลไม้
- ครูอธิบายข้อตกลงและกฎกติกา

ขั้นสอน
- ครูแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
- ครูให้เด็กแบ่งส่วนประกอบของผลไม้พร้อมบอกชื่อผลไม้ เช่นเนื้อผลไม้ของแอปเปิ้ล เป็นต้น

ขั้นสรุป
- ครูและเด็กร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกันการแยกส่วนประกอบของผลไม้

แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
สัปดาห์ที่ 5 หน่วย ผลไม้
กิจกรรม เสริมประสบการณ์ เวลา 20 นาที
ใช้สอนวันที่ 27 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ 2552 (นางสาวอุบล ไตรภพ)
.................................................................................................................................................................................
1. สาระสำคัญ
ประโยชน์ของผลไม้เช่น ป้องกันท้องผูก เป็นอาหารสัตว์ และใช้ทำยา
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 เพื่อฝึกทักษะการฟังนิทาน การแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลได้
2.2 เพื่อฝึกทักษะกระบวนการคิด มีสมาธิในการทำงาน
2.3 ปลูกฝังคุณธรรมความกตัญญูกตเวที
2.4 เพื่อให้เด็กบอกประโยชน์ของผลไม้ได้
3. สาระการเรียนรู้
3.1 สาระที่ควรเรียนรู้
- ประโยชน์ของผลไม้
3.2 ประสบการณ์สำคัญ
3.2.1 การเรียนรู้ทางสังคม
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
3.2.2 การใช้ภาษา
- การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
4. กิจกรรม
4.1 ครูเล่านิทานเรื่อง “ลูกลิงยอดกตัญญู”
4.2 ครูแนะนำหนังสือภาพเสริมประสบการณ์ เรื่อง “ ลูกลิงยอดกตัญญู” เล่าให้เด็กฟังทีละหน้าจากนั้นให้เด็กอ่านตามทีละวรรค จากหน้าที่ 1 – 8 โดยให้เด็กอ่านตาม 1 – 2 รอบ
4.2 ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับเนื้อเรื่องราวในหนังสือ โดยครูตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบ เช่น
- ลูกลิงอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร
- เกิดอะไรขึ้นกับแม่ลิง
- ลูกลิงช่วยแม่ลิงอย่างไร
- ถ้านักเรียนเป็นลูกลิงจะทำเช่นนั้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
4.3 เด็กและครูร่วมกันสรุปคติสอนใจของนิทาน “ลูกลิงยอดกตัญญู”
5. สื่อการเรียนรู้-แหล่งเรียนรู้
- นิทานเรื่อง“ลูกลิงยอดกตัญญู” เพลงส้ม (ภาคผนวก)
6. การวัดและประเมินผล
6.1 วิธีการวัด
- สังเกตจากการตอบคำถาม สนทนาซักถาม และแสดงความคิดเห็น
- สังเกตการแสดงออกและคิดอย่างมีเหตุผล
6.2 เครื่องมือวัด
- แบบสังเกตพฤติกรรม
6.3 เกณฑ์การประเมินผล
- เด็กสามารถบอกประโยชน์ของผลไม้


เรื่อง โทษของผลไม้ (นางสาววิพาวดี ลิ่มมโนชฌ์)
จุดประสงค์
- เด็กร่วมสนทนากับครูได้
- สามารถบอกถึงโทษของผลไม้ได้
ขั้นนำ
ให้เด็กตอบปริศนาคำทายเกี่ยวกับผลไม้ชนิดต่างๆ ดังนี้
- อะไรเอ่ย ? เปลือกเป็นหนามแหลม แบ่งเป็นพูพู กลิ่นแรงน่าดู ถ้าชอบว่าหอม (ทุเรียน)
- อะไรเอ่ย ? เปลือกเขียวเนื้อแดง เม็ดแห้งสีดำ เนื้อหวานชุ่มช่ำ กินแล้วชื่นใจ (แตงโม)
- อะไรเอ่ย ? เรียกใบว่าทาง เรียกลูกว่าทะลาย ผลอ่อนกินได้ ผลแก่คั้นกะทิ (มะพร้าว)
ขั้นสอน
ครูเล่านิทานเรื่อง โอ๊ย...ปวดท้อง
หนูนาและหนูนีเป็นเด็กร่าเริงแจ่มใส เช้าวันหนึ่งทั้งสองเดินไปเจอ ร้านขายผลไม้
หนูนาพูด ”เรามีเงิน 10 บาท ซื้อผลไม้ได้เพียง 1 อย่าง
หนูนีพูด”เราจะซื้ออะไรดีล่ะ มะม่วงสด มะม่วงดอง เงาะโรงเรียน ”
หนูนาพูด ”ฉันไม่เคยไม่เคยกินมะม่วงดอง เราลองซื้อไปกินกันดีมั้ย”
หนูนีพูด”ฉันก็อยากกินเหมือนกัน” เมื่อทั้งสองกินมะม่วงดองเข้าไป ก็ส่งเสียงร้องขึ้น โอ๊ย..ปวดท้องจังเลย
ทำไมเราถึงปวดท้องอย่างนี้ เป็นเพราะกินมะม่วงดองเข้าไปแน่เลย โอ๊ย...วันหลังเราจะไม่กินผลไม้ดองอีกแล้ว
ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับนิทาน ดังนี้
- ถ้าเด็กเป็นหนูนากับหนูนี เด็กๆจะซื้อผลไม้ชนิดใด เพราะอะไร
- เด็กๆคิดว่ามีผลไม้ชนิดใดบ้างที่รับประทานแล้วจะเกิดโทษ เพราะอะไร

ไม่มีความคิดเห็น: