วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การเข้าชั้นเรียน 5 ก.พ. 2552

1 = ไม่มา 2 = มา

ชไมพร โพธิ์สุข 2

พรรณนิภา อ่ำช่วย 2

ฐิติมา โสภณ 1

เรวดี เดชบุญพบ 2

แอ๋ว ซิ้มเทียม 2

อรธิรา ด้วงเงิน 1

สมร บุญเพิ่ม 2

จันทร์ฉาย ลาวพิมาน 2

นูรดีนา กาดามุง 2

อังคณา มูนะ 2

ธารทิพย์ จังหรีด 2

สุกานดา พันธุ์วิจิตร 2

ทิตติยา เข็มภูเขียว 2

เกศสินี เพิ่มญาติ 2

พัฒนา ผึ่งผาย 2

ฐิตาพร ดารากร ณ อยุธยา 2

สวานี อุแม 2


วิภาดา 2

พัชนี แบ่งเพชร 2


จิราภรณ์ สุภรส 2


จิราภรณ์ ใจกล้า 2

จิราวรรณ สีเหลื่อม 2

ณัฐพร นุยา 2

ดุษฎี อภิญญาคม 2

วรรณิษา แหวนวงษ์ 2

สิริพร อนันต์ 2

นฤมล บุญสันท์ 2

นุตาวรรณ หมัดนุรักษ์ 2

พิราพร ประดับเสริฐ 2

เพลินพิศ มั่งมูล 2

ภีรณัฐ พวงมณี 2

วราลี สมรภูมิ 2

วัชรา ทิพเจริญ 2

วิพาวดี ลิ่มมโนชฌ์ 2

สะกาวเดือน สงค์มา 2

สายใจ อาชีวะ 2

สุนิดา ทิพประมวล 2

สุวารี หอมรองบน 2

อรุณกมล สืบพรม 2

อัจฉราพรรณ สิทธิ์สีจัน 2

อุบล ไตรภพ 2

ปาจรีย์ ทองสีนุช 2

กนกวรรณ ไข่ติยากุล 2

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

ครั้งที่1

ให้แต่ละกลุ่มกำหนดหน่วยการเรียน..และแตกสาระ เพื่อเป็นทุ่นลอยในการออกแบบกิจกรรมต่อไป
อ.จ๋า

ดอกไม้


หน่วย ดอกไม้
กิจกรรม
1.การนับ
ชื่อกิจกรรม การนับจำนวนดอกไม้
วิธีทำกิจกรรม ครูนำดอกไม้ใส่ตระกร้าแล้วให้เด็กนำดอกไม้มาว่างใส่ทีละดอก แล้วนับมีดอกไม้ทั้งหมดกี่ดอก
2.ตัวเลข
ขื่อกิจกรรม ดอกไม้แทนตัวเลข
วิธีทำกิจกรรม ถ้าครูเอยเลข3 ขึ้นมาให้เด็กหยิบดอกไม้3ดอก
3.การจับคู่
ชื่อกิจกรรม จับคู่ดอกไม้ที่มีสีเหมือนกัน
วิธีทำกิจกรรม ครูให้เด็กถือดอกไม้คนละ1ดอก แล้วครูให้คำสั่ง เช่น เรียกสีแดงก็ให้เด็กที่ถือดอกไม้สีแดงจับคู่กัน
4.การจัดประเภท
ชื่อกิจกรรม หาคู่ให้หนูหน่อย
วิธีทำกิจกรรม ครูเตรียมดอกไม้ ใบไม้ ลำต้นของดอกไม้ แล้วให้เด็กถือ แล้วเป่านกหวีดให้เด็กวิ่งหากลุ่มของตนเอง
5.การเปรียบเทียบ
ชื่อกิจกรรม สั้น-ยาว
วิธีทำกิจกรรม ครูนำดอกไม้ที่มีขนาดไม่เท่ากัน แล้วให้เด็กออกมาเปรียบเทียบดอกไม้ ว่าดอกไหนสั้น ดอกไหนยาว
6. การจัดลำดับ
ชื่อกิจกรรม กว่าจะเป็นดอกไม้
ครูนำดอกไม้ตั้งแต่เริ่มแตกยอด ไปจนเป็นดอกบาน นำมาให้เด็กจัดลำดับ การเจริญเติบโตของดอกไม้
7. รูปทรงและเนื้อที่
ชื่อกิจกรรม สังเกตรูปภาพดอกไม้
วิธีทำกิจกรรม ครูนำดอกไม้มาหลายชนิด แล้วครูก็หยิบดอกไม้แต่ละชนิดออกมาให้เด็กดู แล้วถามว่าดอกไม้แต่ละชนิดมีรูปทรงแบบไหน
8.การวัด
ชื่อกิจกรรม หนักเบาหรือเท่ากัน
วิธีทำกิจกรรม ครูนำดอกไม้มาหลายชนิด แล้วให้เด็กเปรียบเทียบว่า ดอกไหนหนักและดอกไหนเบา หรือ ดอกไหนใหญ่หรือเล็ก
9.การเซท
ชื่อกิจกรรม จัดให้ถูกต้อง
วิธีทำกิจกรรม ครูนำดอกไม้มา 3 ชนิด มี ยอดดอก ดอกตูม ดอกบาน มาอย่างละ 5 ดอก แล้วให้เด็กแยกเป็นกลุ่ม
10.การทำตามแบบหรือลวดลาย
ชื่อกิจกรรม จิ๊กซอว์ต่อให้ครบ
วิธีทำกิจกรรม ครูนำภาพที่สมบรูณ์ให้เด็กดูก่อน แล้วนำจิ๊กซอว์มาให้เด็กต่อให้เป็นภาพที่สมบรูณ์
11.การอนุรักษ์
ชื่อกิจกรรม การดูแลดอกไม้
วิธีทำกิจกรรม ครูนำดอกไม้และแจกันแล้วแจกแจกันให้เด็ก คนละ1ใบ แล้วให้เด็กหยิบดอกไม้มาใส่แจกันแล้วให้เด็กเริ่มสังเกตดอกไม้ในวันต่อไปว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรโดยใช้เวลาสังเกต 3 วัน

สมาชิกในกลุ่ม
1. น.ส. จันทร์ฉาย ลาวพิมาย
2. น.ส. นฤมล บุญสันท์
3. น.ส. นรูดีนา กาดามุง

แผนการจัดประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้
หน่วย ดอกไม้
เรื่อง ลักษณะของดอกไม้

• สาระสำคัญ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ เด็กได้มีโอกาส ฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา จากการสนทนา โต้ตอบ ร้องเพลงร่วมกัน เกี่ยวกับการทำกิจกรรมนั้น ๆ
• จุดประสงค์ / สภาพที่พึงประสงค์
1. สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
2. แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์
3. ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน
• สาระการเรียนรู้ 1. สาระที่ควรเรียนรู้ : ชื่อ สี กลิ่น และลักษณะของดอกไม้
2. ประสบการณ์สำคัญ : การสนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่อง ร้องเพลง
• วิธีดำเนินการจัดกิจกรรม
ขั้นนำ
1 . ครูร้องเพลงให้เด็กฟัง 1 รอบและร้องเพลงพร้อมกัน
ครูสนทนาและถามว่าเด็กๆรู้จักชื่อดอกไม้อะไรบ้าง
2. ครูให้เด็กบอกชื่อ สี กลิ่น รูปร่าง และลักษณะของดอกไม้ที่ตนเองชอบคนละ 1 ชนิด

ขั้นสอน
1. ครูนำดอกไม้ชนิดต่าง ๆ มาให้เด็กดู แล้วครูและเด็กร่วมกันสนทนาซักถามถึงชื่อ สี กลิ่น รูปร่าง และลักษณะของดอกไม้ที่ครูนำมา โดยใช้คำถามนำ ดังนี้
- “เด็ก ๆ รู้จักดอกไม้ชนิดใดบ้าง?”
- “เด็ก ๆ ชอบดอกไม้ชนิดใดบ้าง เพราะเหตุใดจึงชอบ?”
- “ดอกไม้ชนิดใดบ้าง ที่มีกลิ่นหอม?”
ครูแบ่งกลุ่มเด็กๆตามชนิดของดอกไม้
3. ครูให้เด็กจับคู่ดอกไม้ชนิดละ 1 ดอกแล้วนำมาเปรียบเทียบกันว่าแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร
ขั้นสรุป
1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง “ดอกไม้”
2. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาและทำแผนที่ทางความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะของดอกไม้


• สื่อการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้
- สื่อการเรียนรู้
ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ดอกเข็ม ดอกพุทธรักษา ดอกรัก ดอกกล้วยไม้ เพลงดอกไม้ วิทยุเทป
- แหล่งเรียนรู้
ห้องจัดประสบการณ์ / บริเวณโรงเรียน
• การวัด / ประเมินผล
- วิธีวัด ใช้การสังเกต / บันทึก

นางสาวนฤมล บุญสันท์
รหัส 4911201426

แผนการจัดประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้
หน่วย ดอกไม้ เรื่อง ประโยชน์ของดอกไม้

• สาระสำคัญ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ เด็กได้มีโอกาส ฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา จากการสนทนา โต้ตอบ อภิปราย ร้องเพลงร่วมกัน เกี่ยวกับการทำกิจกรรมนั้น ๆ
• จุดประสงค์
1. สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
2. แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์
3. เล่นหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้
• สาระการเรียนรู้ 1. สาระที่ควรเรียนรู้ : ประโยชน์ และโทษของดอกไม้
2. ประสบการณ์สำคัญ : การสนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่อง ร้องเพลง
• วิธีดำเนินการจัดกิจกรรม
ขั้นนำ
ครูทวนเพลงและชื่อดอกไม้แต่ละชนิด
ขั้นสอน
1. ครูกับเด็กร่วมกันสนทนา ซักถามเกี่ยวกับประโยชน์ของดอกไม้ โดยใช้คำถามนำ ดังนี้
- “ถ้าให้เป็นดอกไม้ เด็ก ๆ อยากเป็นดอกอะไรมากที่สุด เพราะเหตุใด?”
- “ดอกไม้มีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร?”

ขั้นสรุป
1. ครูและเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของดอกไม้
2. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง “ดอกไม้”
• สื่อการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้
- สื่อการเรียนรู้
ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เพลงดอกไม้ วิทยุเทป
- แหล่งเรียนรู้
ห้องจัดประสบการณ์ / บริเวณโรงเรียน

• การวัด / ประเมินผล
1.เด็กสามารถสนทนากับครูได้
2.เด็กสามารถบอกประโยชน์ของดอกไม้ได้
3.เด็กสามารถบอกโทษของดอกไม้ได้
4.เด็กสามารถร้องเพลงร่วมกับครูได้



ชื่อ นางสาวนูรดีนา กาดามุง
รหัส 4911201400

แผนการจัดประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้
หน่วย ดอกไม้ เรื่อง การดูแลรักษาดอกไม้

• สาระสำคัญ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ เด็กได้มีโอกาส ฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา จากการสนทนา โต้ตอบ ร้องเพลงร่วมกัน เกี่ยวกับการทำกิจกรรมนั้น ๆ
• จุดประสงค์
1. สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
2. แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์
3. เล่นหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้
• สาระการเรียนรู้ 1. สาระที่ควรเรียนรู้ : การดูแลรักษาดอกไม้
2. ประสบการณ์สำคัญ : การสนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่อง
ร้องเพลง
• วิธีดำเนินการจัดกิจกรรม
ขั้นนำ
ครูทวนเพลง ชื่อ ประโยชน์และโทษของดอกไม้ที่เรียนผ่านมา 2 วันที่แล้ว
ขั้นสอน
1. ครูหาอาสาสมัครออกมาเล่าถึงประสบการณ์ของตนเองเกี่ยวกับสถานที่ที่มีไดอก ไม้ที่เด็กเคยเห็นหรือเคยสัมผัส
2. ครูแบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆละ4-5คน
3 .ครูให้เด็กออกมาดูดอกไม้ที่ครูเตรียมมาให้ทีละกลุ่ม
4 . ครูให้เด็กแต่ละกลุ่มเนอความคิดในการดูแลดอกไม้ที่ออกมาดู

ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงดอกไม้
ครูและเด็กร่มกันสนทนาเกี่ยวกับวิธีการดูแลดอกไม้

• สื่อการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้
- สื่อการเรียนรู้
กระถางไม้ดอก ไม้ประดับ เพลงดอกมะลิ วิทยุเทป เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ของเด็ก ภาพเกี่ยวกับการดูแลรักษาต้นไม้
- แหล่งเรียนรู้
ห้องจัดประสบการณ์
• การวัด / ประเมินผล
เด็กสามารถตอบโต้ สนทนาเกี่ยวกับการดูแลดอกไม้ได้

ชื่อนางสาว จันทร์ฉาย ลาวพิมาย
4911201236

ผลไม้


หน่วยผลไม้
กิจกรรมหรรษา
อุปกรณ์
1.ฝรั่ง 10 ลูก
2.ตะกร้า 4 ใบ
ขั้นตอนตอนการทำกิจกรรม
1. ครูนำฝรั่งขึ้นมา 2 ลูกและถามเด็กๆว่า เด็กรู้จักสิ่งที่ครูนำมาหรือไม่
2. ครูถามเด็กๆ ต่อไปว่า ฝรั่ง 2 ลูกนี้มีลักษณะอย่างไร
3. แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กัน
4. ครูวางข้อตกลงและกติกาการเล่นเกมโดย
4.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มยืนเรียงแถวตอนลึกโดยมีตะกร้าฝรั่งวางไว้หัวแถว และวางตะกร้าเปล่าออกไป 5 เมตร
4.2 ครูเป่านกหวีดให้สัญญาณ แล้วให้เด็กคนที่อยู่หัวแถวแต่และแถวหยิบฝรั่งที่อยู่ในตะกร้าที่อยู่หัวแถวไปใส่ในตะกร้าอีกใบที่เตรียมไว้และวิ่งกับไปหัวแถวใหม่และคนที่ 2 และคนต่อ ๆ ไปก็ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าฝรั่งจะหมดตะกร้า
4.3 ถ้าใครทำฝรั่งหลุดมือต้องวิ่งกลับมาเอาฝรั่งลูกใหม่มาใส่ตะกร้าแทน
4.4 ทีมใดนำฝรั่งใส่ตะกร้าได้หมดก่อนทีมนั้นเป็นฝ่ายชนะ
4.5 จากนั้นให้แต่ละทีมนับดูว่าฝรั่งในตะกร้าของตัวเองมีกี่ลูก

สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวเกศสิณี เพิ่มญาติ
2.นางสาวจิราภรณ์ ใจกล้า
3.นางสาวสะกาวเดือน สงค์มา
4.นางสาวทิตติยา เข็มภูเขียว

แผนการจัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2
หน่วย ผลไม้ เรื่อง ลักษณะผลไม้
วันที่ 26 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 20 นาที
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (ดุษฎี อภิญญาคม)
สาระสำคัญ
ผลไม้มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกันทั้งในด้านรูปร่าง ลักษณะ สี ผิว รสชาติ และส่วนประกอบแตกต่างกัน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กรู้จักชื่อของผลไม้
2. เพื่อให้เด็กรู้จักสีของผลไม้
3. เด็กสามารถจัดหมวดหมู่สีของผลไม้ได้
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
- ชื่อและลักษณะของผลไม้ชนิดต่าง ๆ
ประสบการณ์สำคัญ
- เด็กรู้จักชื่อและสีของผลไม้
กิจกรรม
ขั้นนำ
- ครูท่องคำคล้องจงพร้อมทำท่าทางประกอบ “ผลไม้บ้านเรา”
- ครูร่วมสนทนาถึงผลไม้ที่มีอยู่ในคำคล้องจอง โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- ผลไม้ที่มีอยู่ในคำคล้องจองมีอะไรบ้าง?
ขั้นสอน
- ครูขอตัวแทนเด็กจำนวน 5 คน เพื่อมาหยิบผลไม้ในตะกร้า
- เมื่อเด็กหยิบผลไม้ขึ้นมาแล้ว ให้เด็กหันไปหาเพื่อน เพื่อบอกสีของผลไม้ชนิดที่ตนจับขึ้นมาได้
จากนั้นให้ไปวางตรงกับตำแหน่งของกระดาษสีโปสเตอร์ที่ตรงกัน เพื่อจัดหมวดหมู่สีของผลไม้
ขั้นสรุป
- ครูและเด็กร่วมกันสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นแผนผังความคิด ถึงผลไม้ที่เด็กชอบทาน
สื่อการเรียนรู้-แหล่งเรียนรู้
- คำคล้องจอง “ผลไม้บ้านเรา”
- ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น แอปเปิล ส้ม กล้วยน้ำว้า มะม่วง ชมพู่ เป็นต้น
- ตะกร้าใส่ผลไม้
การวัดและประเมินผล
วิธีการวัด
- สังเกตจากการตอบคำถาม สนทนาซักถาม และแสดงความคิดเห็น
- สังเกตการแสดงออกและคิดอย่างมีเหตุผล
เครื่องมือวัด
- แบบสังเกตพฤติกรรม
เกณฑ์การประเมินผล
- เด็กสามารถตอบชื่อและสีของผลไม้ถูกต้อง 3 ใน 5 ชนิด
- เด็กจัดหมวดหมู่สีของผลไม้ได้ถูกต้องอย่างน้อย 2 สี

ภาคผนวก
คำคล้องจอง ผลไม้บ้านเรา
สำอางค์ สืบค้า

มะพร้าวบ้านเรา มีเนื้อขาว ๆ อร่อยชื่นใจ
ทุเรียนลำไย ลูกใหญ่หวานดี
อีกกล้วยหอม กล้วยน้ำว้า ปลูกได้ทุกที่
มะม่วงลิ้นจี่ รสดีหวานเปรี้ยว
สับปะรด มะละกอ กระท้อนห่อ ส้มเขียว
หวาน ๆ เปรี้ยว ๆ อร่อยจริงเอย


หน่วยผลไม้
กิจกรรม ส่วนประกอบของผลไม้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเด็กสามารถแบ่งส่วนประกอบของผลไม้ได้จากส่วนต่างๆ
2. เพื่อให้เด็กสามารถแบ่งส่วนที่เป็นเนื้อของผลไม้ได้
3. เพื่อให้เด็กสามารถแบ่งส่วนที่เป็นเมล็ดของผลไม้ได้

ขั้นนำ
- ครูอธิบายกิจกรรมและแนะนำผลไม้
- ครูอธิบายข้อตกลงและกฎกติกา

ขั้นสอน
- ครูแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
- ครูให้เด็กแบ่งส่วนประกอบของผลไม้พร้อมบอกชื่อผลไม้ เช่นเนื้อผลไม้ของแอปเปิ้ล เป็นต้น

ขั้นสรุป
- ครูและเด็กร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกันการแยกส่วนประกอบของผลไม้

แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
สัปดาห์ที่ 5 หน่วย ผลไม้
กิจกรรม เสริมประสบการณ์ เวลา 20 นาที
ใช้สอนวันที่ 27 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ 2552 (นางสาวอุบล ไตรภพ)
.................................................................................................................................................................................
1. สาระสำคัญ
ประโยชน์ของผลไม้เช่น ป้องกันท้องผูก เป็นอาหารสัตว์ และใช้ทำยา
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 เพื่อฝึกทักษะการฟังนิทาน การแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลได้
2.2 เพื่อฝึกทักษะกระบวนการคิด มีสมาธิในการทำงาน
2.3 ปลูกฝังคุณธรรมความกตัญญูกตเวที
2.4 เพื่อให้เด็กบอกประโยชน์ของผลไม้ได้
3. สาระการเรียนรู้
3.1 สาระที่ควรเรียนรู้
- ประโยชน์ของผลไม้
3.2 ประสบการณ์สำคัญ
3.2.1 การเรียนรู้ทางสังคม
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
3.2.2 การใช้ภาษา
- การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
4. กิจกรรม
4.1 ครูเล่านิทานเรื่อง “ลูกลิงยอดกตัญญู”
4.2 ครูแนะนำหนังสือภาพเสริมประสบการณ์ เรื่อง “ ลูกลิงยอดกตัญญู” เล่าให้เด็กฟังทีละหน้าจากนั้นให้เด็กอ่านตามทีละวรรค จากหน้าที่ 1 – 8 โดยให้เด็กอ่านตาม 1 – 2 รอบ
4.2 ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับเนื้อเรื่องราวในหนังสือ โดยครูตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบ เช่น
- ลูกลิงอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร
- เกิดอะไรขึ้นกับแม่ลิง
- ลูกลิงช่วยแม่ลิงอย่างไร
- ถ้านักเรียนเป็นลูกลิงจะทำเช่นนั้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
4.3 เด็กและครูร่วมกันสรุปคติสอนใจของนิทาน “ลูกลิงยอดกตัญญู”
5. สื่อการเรียนรู้-แหล่งเรียนรู้
- นิทานเรื่อง“ลูกลิงยอดกตัญญู” เพลงส้ม (ภาคผนวก)
6. การวัดและประเมินผล
6.1 วิธีการวัด
- สังเกตจากการตอบคำถาม สนทนาซักถาม และแสดงความคิดเห็น
- สังเกตการแสดงออกและคิดอย่างมีเหตุผล
6.2 เครื่องมือวัด
- แบบสังเกตพฤติกรรม
6.3 เกณฑ์การประเมินผล
- เด็กสามารถบอกประโยชน์ของผลไม้


เรื่อง โทษของผลไม้ (นางสาววิพาวดี ลิ่มมโนชฌ์)
จุดประสงค์
- เด็กร่วมสนทนากับครูได้
- สามารถบอกถึงโทษของผลไม้ได้
ขั้นนำ
ให้เด็กตอบปริศนาคำทายเกี่ยวกับผลไม้ชนิดต่างๆ ดังนี้
- อะไรเอ่ย ? เปลือกเป็นหนามแหลม แบ่งเป็นพูพู กลิ่นแรงน่าดู ถ้าชอบว่าหอม (ทุเรียน)
- อะไรเอ่ย ? เปลือกเขียวเนื้อแดง เม็ดแห้งสีดำ เนื้อหวานชุ่มช่ำ กินแล้วชื่นใจ (แตงโม)
- อะไรเอ่ย ? เรียกใบว่าทาง เรียกลูกว่าทะลาย ผลอ่อนกินได้ ผลแก่คั้นกะทิ (มะพร้าว)
ขั้นสอน
ครูเล่านิทานเรื่อง โอ๊ย...ปวดท้อง
หนูนาและหนูนีเป็นเด็กร่าเริงแจ่มใส เช้าวันหนึ่งทั้งสองเดินไปเจอ ร้านขายผลไม้
หนูนาพูด ”เรามีเงิน 10 บาท ซื้อผลไม้ได้เพียง 1 อย่าง
หนูนีพูด”เราจะซื้ออะไรดีล่ะ มะม่วงสด มะม่วงดอง เงาะโรงเรียน ”
หนูนาพูด ”ฉันไม่เคยไม่เคยกินมะม่วงดอง เราลองซื้อไปกินกันดีมั้ย”
หนูนีพูด”ฉันก็อยากกินเหมือนกัน” เมื่อทั้งสองกินมะม่วงดองเข้าไป ก็ส่งเสียงร้องขึ้น โอ๊ย..ปวดท้องจังเลย
ทำไมเราถึงปวดท้องอย่างนี้ เป็นเพราะกินมะม่วงดองเข้าไปแน่เลย โอ๊ย...วันหลังเราจะไม่กินผลไม้ดองอีกแล้ว
ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับนิทาน ดังนี้
- ถ้าเด็กเป็นหนูนากับหนูนี เด็กๆจะซื้อผลไม้ชนิดใด เพราะอะไร
- เด็กๆคิดว่ามีผลไม้ชนิดใดบ้างที่รับประทานแล้วจะเกิดโทษ เพราะอะไร

แอบเปื้ล



ขอบข่ายกิจกรรมแอปเปิ้ล
1. การนับ(counting)
- ให้เด็กนับจำนวนแอปเปิ้ล
- ให้เด็กนับราคาของแอปเปิ้ล
2. ตัวเลข(Numeration)
- ให้เด็กหยิบตัวเลขที่จะซื้อแอปเปิ้ล
3. จับคู่(Matching)
- ให้เด็กจับคู่สีของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กจับคู่ขนาดของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กจับคู่จำนวนของแอปเปิ้ล
4. การจัดประเภท(Classification)
- ให้เด็กแยกแอปเปิ้ลที่มีสีเดียวกัน
- ให้เด็กแยกขนาดของแอปเปิ้ล
- ให้เด็กแยกจำนวนของแอปเปิ้ล
5. การเปรียบเทียบ(Comparing)
- ให้เด็กเปรียบเทียบแอปเปิ้ลที่มีขนาดเล็ก - ใหญ่
6. การจัดลำดับ(Ordering)
- ให้เด็กเรียงลำดับรูปภาพขนาดของแอปเปิ้ลที่มีขนาดเล็กที่สุด ไปหาแอปเปิ้ลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
7. รูปทรงและเนื้อที่(Shape and Space)

8. การวัด(Measurement)
- ให้เด็กชั่งน้ำหนักแอปเปิ้ล โดยใช้สองมือเด็กในการประมาณค่าน้ำหนัก ของแอปปเปิ้ลแต่ละลูก
9. เซท(Set)
- ให้เด็กแยกแอปเปิ้ลสีแดงกับสีเขียว

10. เศษส่วน(Fraction)
- ให้เด็กแบ่งแอปเปิ้ล 1 ลูกเป็น 4 ชิ้นเท่าๆกัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
- ให้เด็กเลือกแอปเปิ้ลตามขนาดที่ครูกำหนด
- ให้เด็กเลือกแอปเปิ้ลตามสีที่ครูกำหนด
12. การอนุรักษ์(Conservation)
- ครูถามเด็กว่า แอปเปิ้ล 1 ลูก ที่นำมาบดละเอียด กับแอปเปิ้ล 1 ลูก ที่ไม่ได้บด มีปริมาณเท่ากันหรือไม่อย่างไร

หน่วยแอปเปี้ล
(วันที่1)
กิจกรรม รู้เรื่องแอปเปิ้ลกันเถอะ
จุดประสงค์
เพื่อให้เด็กบอกชื่อ ลักษณะ สี รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ลได้
สาระสำคัญ
เด็กได้เปรียบเทียบลักษณะ รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ล
เนื้อหา
การเรียนรู้เรื่องชื่อ ลักษณะ สี รูปร่าง ขนาดของแอปเปิ้ล
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูนำปริศนาคำทายมาทายเด็กๆ ดังนี้
- อะไรเอ่ย ผลไม้อะไรที่สโนไวท์ชอบทาน?
ขั้นสอน
2. ครูนำแอปเปิ้ลใส่ตระกร้า แล้วให้เด็กๆทายว่า อะไรอยู่ในตระกร้า
3. ครูเปิดผ้าคลุมออก แล้วให้เด็กนับแอปเปิ้ลในตะกร้า
4. ครูให้เด็กแยกสีแอปเปิ้ลและเปรียบเทียบจำนวนแอปเปิ้ล
5. ครูให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของแอปเปิ้ล
6. ครูให้เด็กเรียงลำดับขนาดของแอปเปิ้ล
ขั้นสรุป
ครูและเด็กสนทนาและเปรียบเทียบลักษณะของแอปเปิ้ล
สื่อ
แอปเปิ้ล

การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการร่วมกิจกรรม

(วันที่ 2 )
ชื่อกิจกรรม ส่วนประกอบของแอปเปิ้ล
จุดประสงค์
เพื่อให้เด็กรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของแอปเปิ้ล
สาระสำคัญ
เด็กรู้ส่วนประกอบต่างๆของแอปเปิ้ล
เนื้อหา
การเรียนรู้ส่วนต่างๆของแอปเปิ้ล เปลือก เนี้อ เมล็ด
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงและทำท่าประกอบเพลง แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย ส้ม
ขั้นสอน
2. ครูใช้คำถามถามเด็กดังนี้
- เด็กๆค่ะแอปเปิ้ลที่ครูนำมามีกี่สีค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลมีสีอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลมีอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆคิดว่าข้างในแอปเปิ้ลทั้งสองสีเหมือนหรือต่างกันอย่างไรค่ะ
- เด็กๆคิดว่าแอปเปิ้ลมีรสชาติอะไรบ้างค่ะ
- เด็กๆจะให้ครูผ่าแอปเปิ้ลกี่ครั้งค่ะ
- เด็กๆจะแบ่งแอปเปิ้ลเป็นกี่ชิ้นดีค่ะ
3. ครูให้เด็กทานแอปเปิ้ลโดยที่ครูแบ่งให้เด็ก
ขั้นสรุป
4. ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับส่วนประกอบและรสชาติของแอปเปิ้ล
สื่อ
1. เครื่องเคาะจังหวะ
2. แอปเปิ้ล
3. เคียง
4. มีด
5. จาน
6. ช้อน ส้อม
การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการแสดงความคิดเห็น


กิจกรรม แอปเปิ้ลมาจากไหน
จุดประสงค์
1. ร่วมสนทนาและตอบคำถามกับครูได้
2. รู้จักที่มาของแอปเปิ้ลได้
3. รู้จัก จำนวนบวก ลบเลขอย่างง่ายได้
สาระสำคัญ
เด็กรู้ที่มาของแอปเปิ้ล
เนื้อหา
การเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ แอปเปิ้ลมีการแพร่พันธุ์โดยต้องอาศัยสิ่งต่างๆ พาไป ได้แก่ มนุษย์ ใช้วิธีการตอนกิ่ง เมล็ด จากตรงกลางของแอปเปิ้ลมีเมล็ดเอามาปลูก แมลง จากดอกแอปเปิ้ลต้องอาศัยผึ้งและแมลงในการช่วยผสมเกสร
ต้นแอปเปิ้ลเป็นพืชล้มลุก ต้นแอปเปิ้ลจะออกผลใน 3 – 4 ปี ต้นสูง 5 – 12 เมตร
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูให้เด็กท่องคำคล้องจอง “แม่ค้าแอปเปิ้ล”
ขั้นสอน
2. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับที่มาของแอปเปิ้ล โดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กๆเคยเห็นแอปเปิ้ลที่ไหนบ้างค่ะ
- ถ้าเด็กๆไปตลาดเด็กๆอยากได้แอปเปิ้ลเด็กๆจะทำอย่างไรค่ะ
- ถ้าเด็กมีเงิน 3 บาท แอปเปิ้ลลูกละ 5 บาท เด็กๆจะต้องเพิ่มเงินเท่าไรค่ะ
3. ครูนำภาพแอปเปิ้ลมาอธิบายให้เด็กฟัง
ขั้นสรุป
4. ครูและเด็กร่วมกันสรุปการเจริญเติบโตของแอปเปิ้ลและร่วมกันท่องคำคล้องจอง
5. ครูแลเด็กร่วมกันสรุปประโยชน์ของแอปเปิ้ล


สื่อ
1. คำคล้องจ้อง “แม่ค้าแอปเปิ้ล”
2. รูปภาพแอปเปิ้ล

การประเมินผล
1. สังเกตการตอบคำถาม
2. สังเกตการแสดงความคิดเห็น


คำคล้องจอง
แม่ค้าแอปเปิ้ล
แม่ค้า แม่ค้า แอปเปิ้ล ซื้อ หนึ่ง สอง สาม
ราคาเท่าไร ขอซื้ออีกที
สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
แอปเปิ้ลกลิ้งตก รีบเก็บไว ไว


วันที่ 4 กิจกรรม น้ำแอปเปิ้ลปั่น
จุดประสงค์
1. ร่วมทำกิจกรรมกับครูและเพื่อน ๆ ได้
2. ร่วมสนทนากับครูและผู้อื่นได้
3. บอกรสชาติของน้ำแอปเปิ้ลปั่นได้
สาระสำคัญ
แอปเปิ้ลคือผลไม้ชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารับประทานได้
แอปเปิ้ลนำมาทำประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น เครื่องดื่ม และขนม
เนื้อหา
เด็กได้เรียนรู้การทำน้ำผลไม้ปั่นจากลูกแอปเปิ้ล
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจองแอปเปิ้ล
ขั้นสอน
2. นำแอปเปิ้ลของจริงสนทนากับเด็ก
3. นำแอปเปิ้ลสีเขียวกับแอปเปิ้ล สีแดงมาสนทนากับเด็กโดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กจะเลือกแอปเปิ้ลสีอะไรทำน้ำปั่นดีค่ะ
- ทำไมเอาสีนี้ค่ะ
- ให้ครูใส่แอปเปิ้ลกี่ชิ้นดีค่ะ
- น้ำเชื่อมกี่ช้อนดีค่ะ
- น้ำแข็งกี่แก้วดีค่ะ
- เกลือเท่าไรดีค่ะ
- จะกดเครื่องปั่นกี่ครั้งค่ะ
ขั้นสรุป
4. เด็กสามารถบอกปริมาณของส่วนประสมได้
5. เด็กสามารถบอกรสชาติของน้ำแอเปิ้ลได้
6. ครูและเด็กร่วมกันตั้งชื่อน้ำปั่น

สื่อ
1. เครื่องปั่นผลไม้
2. แอปเปิ้ล
3. มีด
4. เขียง
5. น้ำแข็ง
6. แก้วน้ำ
7. หลอด
8. น้ำหวาน
การประเมินผล
1. สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม
2. สังเกตการณ์ตอบคำถาม
3. สังเกตการแสดงความคิดเห็น

ไข่


กิจกรรมคณิตศาสตร์
หน่วยไข่
กิจกรรมไข่หรรษา
วิธีดำเนินกิจกรรม
การนับ
1. นับจำนวนไข่ว่ามีกี่ฟอง
2. จัดประเภทและนับจำนวนไข่ว่ามีกี่ชนิด
3. นับตะกร้าที่ใส่ไข่ว่ามีกี่ใบ
4. นับสีของเปลือกไข่ว่ามีกี่สี
5.ให้เด็กนับรูปทรงของเปลือกไข่
ตัวเลข
1. นำตัวเลขตามจำนวนของไข่ที่นับได้มาใส่ในตะกร้าทั้งหมด
2. นำตัวเลขมาใส่ตามจำนวนของสีเปลือกไข่
3. ครูวางไข่ในตะกร้าแล้ว ให้เด็กหยิบตัวมาวางตามจำนวนของไข่แต่ละชนิด
การจับคู่
1. ครูให้เด็กจับคู่ตามสีของเปลือกไข่
2. ครูให้เด็กจับคู่ตามขนาดของไข่
3. ครูให้เด็กจับคู่ไข่ตามตัวเลขที่ครูกำหนด
การจัดประเภท
1.ให้เด็กบอกประเภทสี....ของเปลือกไข่
2.ให้เด็กบอกประเภทรูปทรง....ของไข่
4.ให้เด็กบอกประเภทไข่ที่มีขนาดเล็ก
5.ให้เด็กบอกไข่ที่มีรูปทรงกลม
การเปรียบเทียบ
1.เด็กสามารถเปรียบเทียบน้ำหนักของไข่
2.เด็กสามารถเปรียบเทียบผิวของเปลือกไข่
3.เด็กสามารถเปรียบเทียบขนาดของไข่แดง
4.เด็กสามารถเปรียบเทียบสีของไข่แดง
การจัดลำดับ
1.เด็กสามารถเรียงลำดับไข่จากเล็กไปใหญ่
2.เด็กสามารถเรียงลำดับตามน้ำหนักของไข่
รูปทรงและเนื้อที่
1.ให้เด็กสังเกตุรูปทรงและบอกว่าไข่ว่ามีรูปทรงกี่ประเภท
2.ให้เด็กวัดเส้นรอบรูปของเปลือกไข่(ดัวยลวดกำมะยี่)
3.ให้เด็กหาภาชนะที่มีขนาดเหมาะสมมาใส่ไข่ตามขนาดของไข่
การวัด
1.ให้เด็กนำไม้บรรทัดมาวัดขนาดของไข่(ตามแนวตั้ง)
2.ให้เด็กวัดรอบนอกของเปลือกไข่ดัวยลวดกำมะยี่โดยการม้วนลวดรอบเปลือกไข่แล้วนำมาวัด
เซท
1.แผงไข่
2.ขนาด
3.รูปทรง
4.พื้นผิว
5.น้ำหนัก
6.สี
เศษส่วน
1.ให้เด็กแบ่งไข่ 2 ตะกร้าให้เท่าๆกัน
2.ให้เด็กแบ่งแยกไข่แต่ละชนิดออกจากกัน
3.ให้เด็กแบ่งไข่ดาวออกเป็นสองส่วนแล้วกินหนึ่งส่วนเรียกว่ากินไปครึ่งหนี่ง
4.ให้เด็กแบ่งไข่ดาวตามจำนวนของเพื่อน
การทำตามแบบหรือลวดลาย
1.สี
2.ขนาด
3.รูปทรง
4.พื้นผิว
5.น้ำหนัก
การอนุรักษ์
1.มีไข่ชนิดเดียวกันอยู่สองฟองใบที่หนึ่งทำไข่ต้ม ใบที่สองทำไข่ดาวแล้วให้เด็กเลือกไข่ที่คิดว่ามีปริมาณมากกว่า
2.ให้เด็กสังเกตและบอกว่าไข่ที่ใส่ในถ้วยหรือไข่ที่ใส่ในจานมีปริมาณมากกว่ากัน

สมาชิกในกลุ่มไข่
นางสาว จิราวรรณ สีเหลื่อม
นางสาว ณัฐพร นุยา
นางสาว วรรณิษา แหวนวงษ์
นางสาว วราลี สมรภูมิ