วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

กลอนคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์
1.กลอนหนึ่ง-สอง
หนึ่ง สอง มือตีกลอง ตะล็อก ต็อกแทร๊ก
สาม สี่ ดูให้ดี
ห้า หก ส่องกระจก
เจ็ด แปด ถือปืนแฝด
เก้า สิบ กินกล้วยดิบ ปวดท้องร้องโอย โอย

2.กระรอกบอกข่าว
กระรอก กระรอก เจ้ามาบอกข่าว
ขนนุ่ม หางยาว มากันกี่ตัว
หนึ่ง สอง สาม สี่ อยู่นี่เป็น ห้า
รีบบอกข่าวมา ไม่ต้องตื่นกลัว
กระรอกบอกข่าว ว่าฝนจะตก
ตัวสั่นงันงก ส่งเสียงรัว รัว

3.ซ้าย-ขวา
เราใช้อะไร อ๋อมือสองข้าง
ซ้าย ขวา ใช้ต่าง กันบ้างนิดหน่อย
มือขวาถนัดกว่า เพราะว่าใช้บ่อย
มือซ้ายใช้น้อย ไม่ค่อยถนัดเอย

4.ซ้าย-ขวา
ปรบมือข้างซ้าย (ปรบมือทางซ้าย 2 ครั้ง)
ปรบมือข้างขวา (ปรบมือทางขวา 2 ครั้ง)
พวกเรามาสนุกเฮฮา ปรบมือข้างซ้าย ปรบมือข้างขวา

5.ซ้าย-ขวา
เราปักชื่อที่เสื้อด้านขวา ด้านซ้ายนั้นหนามีกระเป๋า
เราจำจากเสื้อของเรา เสื้อของเขาก็มีขวา-ซ้ายเอย

6.ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-กลาง-หนา-บาง
แม่กระต่ายเดินมา นำหน้าลูกน้อย
เดินตามต้อยต้อย สีขาวอยู่หลัง
สีดำน่าดู เดินอยู่ตรงกลาง
ทางซ้ายหญ้าบาง ทางขวาหนาเอย

7.เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา สองขา ต่างกัน
ช้างม้า มีขา สี่ขา เท่ากัน
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย


8.นกสิบตัว
นกสิบตัวเกาะอยู่บนกิ่งไม้
ตัวหนึ่งบินไปเหลือเก้าตัว
(ลดจำนวนนกลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือนกหนึ่งตัว)
นกหนึ่งตัวเกาะอยู่บนกิ่งไม้
พอมันบินไปก็ไม่มีนกเหลือเลย

9.บน-ใต้
ฉันนอน บนเตียง ส่งเสียง แจ๋วแจ๋ว
หนูห่ม ผ้าแล้ว ไว้กัน ลมหนาว
นอนดิ้น ไปมา ฝันว่า คว้าดาว
ตื่นมา แสนหนาว ผ้าตก ใต้เตียง

10.บน-ใต้-ใกล้-ไกล
ลูกเป็ดยืนอยู่ใกล้ ฟางกองใหญ่ใกล้ริมทาง
ลูกหมาวิ่งส่ายหาง ยังอยู่ห่างไกลออกไป
ลูกนกผกโผบิน แล้วบินเกาะบนไม้ใหญ่
กระต่ายขาวแสนตกใจ วิ่งมาใต้ต้นไม้เอย

11.เป็ดห้าตัว
เป็ดน้อยห้าตัวเตาะแตะตามกัน เดินเพลิดเพลินมาในไพวัลย์
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อยสี่ตัวกลับมาน่าชัง
(ถึงไม่กลับเลยแนะเออน่าชัง)
แม่เป็ดขนงามเดินตามลูกไป ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ กึกก้องในไพวัลย์
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อยห้าตัวกลับมาดีจัง


12.มาก-น้อย
แม่ให้ เงินพี่ วันนี้ ห้าบาท
แต่ฉัน ได้ขาด สองบาท ใช่ไหม
ฉันได้ สามบาท น้อยกว่า เสียใจ
พี่ได้ มากกว่า ยิ้มร่า ยินดี


13.มาก-น้อย,เท่า-ไม่เท่า,สูง-ต่ำ,สั้น-ยาว
มีเด็กสองคน วิ่งวนเลี้ยงไก่
คนสูงถือไม้ อันยาวหนักหนา
มีไก่สิบตัว มากจนลายตา
อีกคนน้อยกว่า ห้าตัววิ่งไว
ถือไม้อันสั้น เขานั้นตัวต่ำ(เตี้ย)
นับไก่น่าขัน เท่ากันหรือไม่
ห้าตัว สิบตัว รีบนับเร็วไว
สูง-ต่ำมีไก่ ไม่เท่ากันเลย

14.แม่ไก่-ลูกไก่
หนึ่ง สอง สามและสี่ แม่ไก่มีลูกสี่ตัว
ลูกจ๋าอย่าทำชั่ว จงเกรงกลัวเรื่องบาปกรรม
ลูกเจี๊ยบต่างรักแม่ จึงมีแต่เชื่อฟังคำ
ทำดีทุกเช้าค่ำ หากทำชั่วจะเป็นทุกข์
แม่มองเจี๊ยบทั้งสี่ เป็นเด็กดีแล้วมีสุข
จึงร้องว่า “กุ๊ก กุ๊ก” แม่รักลูกทุกทุกตัว


15.แม่ค้าข้าวหลาม
แม่ค้า แม่ค้าข้าวหลาม ซื้อ หนึ่ง สอง สาม ราคาเท่าไร
ขอซื้ออีก สี่ ห้า หก ข้าวหลามกลิ้งตกรีบเก็บไวไว
ซื้อหกขอแถมอีกหนึ่ง ไปจิ้มน้ำผึ้งอร่อยเหลือใจ

16.ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวไต่อยู่บนหลังคา
ตัวหนึ่งกระโดดตุ๊บลงมาเหลือลูกแมวเก้าตัว
(ลดจำนวนลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือหนึ่งตัว)
ลูกแมวตัวหนึ่งไต่อยู่บนหลังคา
พอมันกระโดดลงมาบนหลังคาก็ไม่มีแมว

17.ลูกหนู
ลูกหนูตัวหนึ่งซ่อนอยู่ในตู้ อีกตัวตามมาดูรวมเป็นสองตัว
(นับขึ้นเรื่อยๆจนครบสิบ)

18.สั้น-ยาว
ไม้บรรทัด ของฉัน อันยาว เท่านี้
ดินสอ ของพี่ สั้นกว่า ใช่ไหม
ยางลบ ของน้อง ยิ่งสั้น ลงไป
ไม้บรรทัด นี่ไง ยาวกว่า ใครเลย


19.สูง-เตี้ย
เสาธง ตรงแน่ว เห็นแล้ว ใช่ไหม
มีเสา ชาติไทย ผูกไว้ นั่นหนา
เสาธง สูงเด่น มองเห็น งามตา
ต้นไม้ เตี้ยกว่า เสาสูง จริงเอย


20.หนัก-เบา
นั่นแน่ใบไม้ ปลิวลมไปมา
สบายจริงหนา เพราะเบาเหลือใจ
ก้อนหินอยู่นิ่ง กลิ้งไปไม่ได้
หนักกว่าใบไม้ ลมแรงไป

21.หนา-บาง
โต๊ะเรียน ของฉัน นั้นทำ ด้วยไม้
ไม้หนา เห็นไหม ฉีกไม่ ขาดเลย
กระดาษ ของฉัน นั้นบาง เหลือเอย
ฉีกนิด ขาดเลย ไม้หนา น่าชม

22.หน้า-กลาง-หลัง
เรือใบ สีแดง แล่นแซง ขึ้นหน้า
เรือใบ สีฟ้า ตามมา อยู่กลาง
เรือใบ ลำไหน แล่นอยู่ ข้างหลัง
สีขาว ช้าจัง อยู่หลัง สุดเลย

23.หนึ่ง-สอง-สาม
หนึ่ง สอง สาม เป็นยามปลอด สี่ ห้า ลอดรั้วออกไป
หก เจ็ด แปด แดดแจ่มใส เก้า สิบ ไวไววิ่งไล่กัน
สิบเอ็ด สิบสอง รีบย่องกลับ สิบสาม สิบสี่ หลับแล้วฝัน
สิบห้า สิบหก ตกเตียงพลัน สิบเจ็ด สิบแปด นั้นฉันหัวโน

24.ใหญ่-เล็ก
มาลี เดินมา เห็นหมา ตัวใหญ่
มาลี ร้องไห้ ตกใจ กลัวหมา
เห็นแมว ตัวน้อย ค่อยค่อย ก้าวมา
แมวเล็ก กว่าหมา มาลี ไม่กลัว

25.ใหญ่-เล็ก,อ้วน-ผอม
หนูนิดเป็นพี่ ดูซิตัวใหญ่
อ้วนกว่าหนูใหม่ ตัวเล็กเป็นน้อง
หนูใหม่นั้นหนา ผอมกว่าเป็นกอง
นิดหนักกว่าน้อง ใหม่ผอมตัวเบา

26.อ้วน-ผอม
มีเด็ก คนหนึ่ง ซึ่งเขา กินมาก
ลุกนั่ง ลำบาก เพราะอ้วน เกินไป
ส่วนเด็ก อีกคน ไม่กิน อะไร
จนผอม เหลือใจ ไม่มี เรี่ยวแรง

อ.จ๋า

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่3

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์การเกิดพัฒนาการทางสติปัญญาตามทฤษฎีเพียเจต์ เป็นผลเนื่องจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมโดยบุคคลพยายามปรับตัวโดยใช้กระบวนการ 2 อย่าง คือ

กระบวนการดูดซึม
เป็นกระบวนการที่เกิดจากการที่เด็กพบหรือปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแล้วรับหรือดูดซึมภาพเหตุการณ์ต่างๆเข้าไว้ในความคิดของตน

กระบวนการปรับให้เหมาะ
เป็นกระบวนการปรับความรู้เดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่หรือสามารถปรับความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งใหม่ ทำให้เด็กอยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งทำให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้

พัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจต์ได้จัดกระบวนการทางสติปัญญา เป็น 4 ขั้น(นำเสนอเพียง2 ขั้นที่สอดคล้องกับเด็กปฐมวัย)
1.ระยะใช้ประสาทสัมผัส ตา หู มือ เท้า ระยะแรกเกิดถึง 2 ปีเป็นการเก็บข้อมูลในขั้นต้นของเด็ก
2.ระยะคุมอวัยวะต่างๆ อายุ 2-7 ปี
2.1 อายุ 2-4ปี มีพัฒนาการทางสมองที่ใช้ ควบคุมการพัฒนาลักษณะนิสัยและการทำงานของอวัยวะต่างๆ ใช้ภาษาเพื่อสื่อสารอย่างง่ายๆ ใช้เหตุผลได้บ้างแต่ยังตอบตามที่ตามองเห็น
2.2 อายุ 4-6ปี ใช้ภาษาเป็นประโยคได้ดีขึ้นใช้เหตุผลได้ดีขึ้น ซึ่งจะพัฒนาไปสู่การคิดเชิงอนุรักษ์คือการคิดและตอบด้วยเหตุผลนั้นคือความเข้าใจเกี่ยวกับปริมาณหรือปริมาตรว่าจะยังคงที่แม้รูปร่างรูปทรงจะเปลี่ยนแปลงไป
เพียเจต์ได้ลำดับความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามระดับพัฒนาการ
1. การจัดหมวดหมู่ ( Classification )โดยจัดพวกที่มีลักษณะเหมือนๆกันเข้าพวก
2. การเรียงลำดับ ( Seriation )โดยเรียงลำดับสิ่งที่มีลักษณะเดียวกันตามลำดับ(มีการเปรียบเทียบและเรียงลำดับโดยมีจุดเริ่มต้นเท่ากันหรือในระดับเดียวกัน
3. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับระยะ (Spatial Relationships )ได้แก่ ระยะทางใกล้ไกลและทิศทางการเคลื่อนไหว
4. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา ( Temporal Relationships )เช่น นาน ,ช้า, เร็ว เป็นต้น
5. การอนุรักษ์ ( Conservation )เป็นความเข้าใจเกี่ยวกับการคงที่ของปริมาณวัตถุแม้รูปร่างจะเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้นเมื่อคณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัยดังนั้นครูจะต้องวางแผนและเตรียมการอย่างดีเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า,ค้นพบ ,แก้ปัญหา และพัฒนาความคิดรวบยอดตลอดจนทักษะและความรู้ด้านคณิตศาสตร์เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาในระดับสูงต่อไป

ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจต์
1. ความรู้ทางด้านกายภาพ เป็นความรู้ที่ได้จาการใช้ประสาทสัมผัส เป็นความรู้ภายนอกที่เกิดจากการปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยตรง
2. ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสาตร์ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นภายในที่เกิดจากการเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎีโดยการลงมือกระทำที่เป็นผลสะท้อนนั้นเองนั้นคือความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์จะเกิดขึ้นหลังจากที่เด็กได้ลงมือกระทำกิจกรรมโดยอาศัยความเชื่อมโยงจากข้อเท็จจริงที่เห็นไปสู่ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดต่อไป การที่เด็กจะไปสรุปเรื่องต่างๆ ได้เองนั้นๆจะต้องได้รับประสบการณ์หลายๆอย่างที่ตนได้ลงมือปฎิบัติโดยใช้วัสดุรูปธรรมได้เรียนรู้จากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติรวมทั้งจากสภาพที่จงใจหรือมีการวางแผนเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้นั้นเอง
ผู้ใหญ่จะต้องระลึกไว้เสมอว่าสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยก็คือ การให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติได้ใช้สิ่งของนั้นๆได้สืบค้น ได้เลือก ได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ได้คิดอย่างมีเหตุผล และเป็นขั้นตอน มิใช่ให้เรียนรู้แค่เพียงคำตอบที่ถูกต้องเท่านั้น


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษา
การจัดหลักสูตรจะต้องมีความสมดุลและอาศัยครูที่มีวิชาความรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย นั่นคือครูจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างลำดับขั้นการพัฒนาการของเด็กกับกระบวนการสอนและเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ ดังที่แอลมี (Almy) กล่าวว่า “ครูที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการคิดของเด็กและเนื้อหาที่สอนเป็นอย่างดีจึงจะสอนคณิตศาสตร์ได้” นอกจากนี้ครูจะต้องเป็นที่รู้จักเด็กของตนเองเป็นอย่างดี รู้ว่าแต่ละคนจะต้องใช้วิธีการอย่างไรจึงจะได้ผล และรู้ระดับการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ครูจัดกิจกรรมและเนื้อหาได้เร้าใจและน่าสนใจมากขึ้น
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะดังต่อไปนี้
1. การนับ (counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1-10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข (Numeration) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
3. การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างกันหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียบตามลำดับจากสู่ไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว ฯลฯ
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้รูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะทาง รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9. เซท (Set) เป็นการสอนเรื่องเซทอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซท หรือห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซทได้ 3 เซท คือ นักเรียน ครูประจำชั้น ครูช่วยสอน เป็นต้น
10. เศษส่วน (Fraction) ปกติแล้วการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม (The Whole Object) ให้เด็กเห็นก่อน มีการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าในความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ1/2
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกตฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบขึ้นไป ครูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

อ. จ๋า
จากหนังสือคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อ.นิตยา ประพฤติกิจ
แอ๋ว ซิ้มเทียมตรวจดูชื่อและคำอธิบายและการเขียนบันทึกหลังการสอนมีความสำคัญเพื่อสรุปบทเรียนว่าคุณได้เรียนรู้ในเรื่องใดปรับเพื่อเรื่องข้อมูลการลิงค์ สรุปการเรียนขอให้เขียนว่าเป็นของวันอะไรที่เท่าไหร่ให้ชัดเจน
บทความและเพลงเอาของใครมาต้องบอกหรือถ้าแต่งเองก็ต้องบอก

อรธิรา ด้วงเงินการสรุปหลังการสอนควรเขียนให้อ่านง่ายจัดเป็นประเด็นสรุปการเรียนขอให้เขียนว่าเป็นของวันอะไรที่เท่าไหร่ให้ชัดเจน
ส่วนการลิงค์ฝ่ายทะเบียนขอให้ลิงค์ตรงไปที่ผลการเรียน,ตารางเรียนของเราในแต่ละภาคเรียน บทความและเพลงเอาของใครมาต้องบอกหรือถ้าแต่งเองก็ต้องบอก

สมร บุญเพิ่มตรวจดูชื่อและคำอธิบายการสรุปหลังการสอนควรเขียนให้อ่านง่ายจัดเป็นประเด็นสรุปการเรียนขอให้เขียนว่าเป็นของวันอะไรที่เท่าไหร่ให้ชัดเจนส่วนการลิงค์ยังขาดหลายรายการบทความและเพลงเอาของใครมาต้องบอกหรือถ้าแต่งเองก็ต้องบอก

จันทร์ฉาย ลาวพิมายตรวจดูชื่อและคำอธิบายการสรุปหลังการสอนควรเขียนให้อ่านง่ายจัดเป็นประเด็นสรุปการเรียนขอให้เขียนว่าเป็นของวันอะไรที่เท่าไหร่ให้ชัดเจนส่วนการลิงค์ยังขาดหลายรายการและควรเลือกตามที่ตกลงกันบางครั้งมันเลอะเทอะ

นูรดีนา กาดามุง
ตรวจดูชื่อและคำอธิบายการสรุปหลังการสอนควรเขียนให้อ่านง่ายจัดเป็นประเด็นสรุปการเรียน
(ตรวจดูว่าอายุที่เขียนถูกหรือไม่)ขอให้เขียนว่าเป็นของวันอะไรที่เท่าไหร่ให้ชัดเจน

อังคณา มูนะตรวจดูชื่อและคำอธิบายไม่มีการสรุปหลังการสอน ลิงค์ยังขาดหลายรายการและที่มีก็ลิงค์ไม่ได้

ธารทิพย์ ชิดจังหรีด
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคด้วยยังไม่มีการลิงค์ยังขาดหลายรายการ

สุกานดา พันธุ์วิจิตร
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคการสรุปหลังการสอนควรเขียนใหครูเห็นว่าคุณได้เนื้อหาสาระอะไรบ้าง,เกมเหมาะสำหรับเด็กหรือเปล่า
ข้อมูลบทความและวิจัยทำได้ดี

ทิตติยา เข็มภูเขียว
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคการสรุปหลังการสอนควรเขียนใหครูเห็นว่าคุณได้เนื้อหาสาระอะไรบ้าง
วิจัยใช้ได้แต่บทความลองพิจารณาดูใหม่ซิว่าเเป็นบทความคณิตศาสตร์หรือไม่

เกศสินี เพิ่มญาติ
แก้ไขชื่อและเพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคโดยปรับปรุงและเพิ่มข้อมูลด่วน

พัฒนา ผึ่งผาย
แก้ไขชื่อและเพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคไม่มีสรุปหลังการสอนการลิงค์ยังขาดหลายรายการและควรเลือกตามที่ตกลงกันบางครั้งมัน
เลอะเทอะ

ฐิตาพร ดารากร ณ อยุธยา
แก้ไขชื่อและเพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคไม่มีสรุปหลังการสอนการลิงค์ยังขาดหลายรายการและควรเลือกตามที่ตกลงกันไม่มีสรุปหลังการสอนแก้ปัญหาโดยด่วน

สวานี อูแม
ไม่มีการแก้ไขและเพิ่มเติมลิงค์ยังขาดหลายรายการและควรเลือกตามที่ตกลงกันบางครั้งมันเลอะเทอะ

สิริพร อนันต์
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคสรุปหลังการสอนควรเขียนใหครูเห็นว่าคุณได้เนื้อหาสาระอะไรบ้างงานวิจัยและบทความใช้ได้คะ

วิภาดา แดงพรม
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคสรุปหลังการสอนควรเขียนใหครูเห็นว่าคุณได้เนื้อหาสาระอะไรบ้างงานวิจัย,เกมและบทความใช้ได้คะ

พัชนี แบ่งเพชร
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคสรุปหลังการสอนควรเขียนใหครูเห็นว่าคุณได้เนื้อหาสาระอะไรบ้างงานวิจัย,เกมและบทความพิจารณาดูว่าเหมาะกับเด็กปฐมวัยหรือไม่

ปาจรีย์ ทองสีนุช
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคการลิงค์ควรเลือกตามที่ตกลงกันบางครั้งมันเลอะเทอะทุกเรื่องขอให้ตรวจดูว่าเหมาะกับเด็กปฐมวัยหรือไม่

อรุณกมล สืบพรม
ต้องพิจารณาและแก้ไขโดยด่วน

ณัฐพร นุยา
แก้ไขด่วน

วราลี สมรภูมิ
แก้ไขด่วน

พิราพร ประดับเสริฐ
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคงานซ้ำกับเพื่อน การลิงค์ฝ่ายทะเบียนควรลิงค์ข้อมูลที่ต้องการให้เรียบร้อย

จิราภรณ์ ใจกล้า
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคสรุปหลังการสอนควรเขียนใหครูเห็นว่าคุณได้เนื้อหาสาระอะไรบ้างห้ามไปลิงค์ที่รุ่นพี่การลิงค์ยังขาดหลายรายการและควรเลือกตามที่ตกลงกัน

สะกาวเดือน สงค์มา
แก้ไขด่วน

เพลินพิศ มั่งมูล
แก้ไขด่วน

สุวารี หอมรองบน
แก้ไขคำอธิบายดีมากแต่การสรุปควรขยายรายละเอียดเพื่อครูร้ว่าคุณได้เรียนอะไรไปบ้างพยายามดูตัวสะกดนะคะเราภูมิใจที่มีภาษาเป็นของตนเองแสดงเอกลักษณ์ที่บ่งบอกความมีรากเง้าและวัฒนธรรม โดย support link ควรจะlink ให้ตรงเรื่องที่เราต้องการส่วนบทความ,งานวิจัยซ้ำกับเพื่อน

อัจฉราพรรณ สิทธิ์สีจัน
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคการสรุปหลังการสอนควรเขียนใหครูเห็นว่าคุณได้เนื้อหาสาระอะไรบ้างงานซ้ำกับเพื่อนแก้ไขตัวหนังสือให้เหมาะด้วย

อุบล ไตรภพ
การสรุปหลังการสอนควรเขียนใหครูเห็นว่าคุณได้เนื้อหาสาระอะไรบ้าง ขอให้ทุกคนดูการlinkงานวิจัยของอุบล ไม่ควรไปเอาในบล็อคของผู้อื่นการลิงค์ฝ่ายทะเบียนควรลิงค์ข้อมูลที่ต้องการให้เรียบร้อย

วัชรา ทิพเจริญ
แก้ไขด่วน

สุนิดา ทิพประมวล
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อค ไม่มีสรุป หางานวิจัยโดยดูแบบของอุบล ไม่ควรไปเอาในบล็อคคนอื่น

จิราวรรณ สีเหลื่อม
แก้ไขด่วน

ดุษฎี อภิญญาคม
ทำได้ดีแล้วขอให้ช่วยเหลือเพื่อนเพื่อเป็นวิทยาทาน แต่ดูตัวหนังสือหน่อยดีไหมมันเทอะทะจังเลยทำให้ดูสวยน้อยลงไปนิดนึง

วรรณิษา แหวนวงษ์
แก้ไขด่วน เป็นเพื่อนกันต้องช่วยดูแลกันและชวนกันเรียนอย่าให้ใครว่าได้เพราะเป็นเหมือนกันเกือบทั้งกล่ม

จิราภรณ์ สุภรส
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อค ไม่มีสรุปหลังการสอนขอให้ดูข้อตกลง

สายใจ อาชีวะ
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อค ไม่มีสรุปหลังการสอนขอให้ดูข้อตกลง

นฤมล บุญสันท์
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อคการสรุปหลังการสอนควรเขียนใหครูเห็นว่าคุณได้เนื้อหาสาระอะไรบ้าง(พัฒนาการทางชีววิทยาหมายความว่าอย่างไร)แก้ไขตัวหนังสือให้เหมาะด้วยงานวิจัยขอให้ส฿กษาของอุบลและวิภาวดี

วิพาวดี ลิ่มมโนชฌ์
ทำได้ดีแล้วขอให้ช่วยเหลือเพื่อนเพื่อเป็นวิทยาทาน ด้วยแม้ว่าจะรู้สึกเบื่อหน่ายที่จะช่วยเหลือก็ตาม

นุตาวรรณ หมัดนุรักษ์
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อค การสรุปหลังการสอนทำได้ดีแต่ลิงค์ยังขาดหลายรายการ

ภีรณัฐ พวงมณี
เพิ่มเติมคำอธิบายบล็อค ไม่มีสรุป หางานวิจัยโดยดูแบบของอุบล

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สัปดาห์ที่2

คณิตศาสตร์จะเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของเด็กหรือผู้ใหญ่อยู่ตลอดเวลามีคำพูดต่างๆมากมายที่สะท้อนความเกี่ยวข้องดังกล่าวเช่นเมื่อเช้าหนูตื่นสาย, วันนี้หนูดื่มนม2แก้ว,คุณพ่อซื้อดินสอให้3 แท่ง, เอาอันใหญ่ให้หนูด้วย, เบอร์โทรศัพท์ที่บ้านคุณครูเบอร์อะไรครับ ประโยคเหล่านี้มีทั้งที่เป็นคำศัพท์และความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์จากสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวันแต่ถ้าต้องการสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นครูคงต้องเตรียมการและวางแผนกิจกรรมเพื่อให้เด็ก ค้นคว้า ค้นพบ และมีโอกาสแก้ปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เกิดความคิดรวบยอดและมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อนำไปใช้ในชีวตประจำวันต่อไป
จุดม่งหมายในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประสบการณ์ทำให้เด็กมีข้อมูลทางปัญญา(คำศัพท์,ความหมายต่างๆ)และมีโอกาสเรียนรู้(เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม)และใช้เหตุผลในการถกเถียงหรือโต้แย้งเพื่อบอกสิ่งที่ตนคิดหรือสิ่งที่เป็นคำตอบที่คิดว่าถูกต้อง ตลอดจนเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆนำไปสู่การเข้าใจได้ด้วยตนเอง จึงเป็นที่มาของพฤติกรรมเด็กที่บางครั้งเขาต้องการที่จะคิดหรือทำงานคนเดียวเงียบแต่ในบางครั้งก็อยากให้ครูหรือผู้ใหญ่ช่วยเหลือจึงอาจสรุปจุดมุ่งหมายได้ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์(การบวกหรือเพิ่ม,การลบหรือลด)
2.เพื่อให้เด็กรู้จักใช้กระบวนการในการหาคำตอบเช่นเมื่อเด็กบอกว่าพิมหนักว่าแก้มแต่บางคนบอกว่าแก้มหนักกว่าพิมเพื่อพิสูจน์และหาคำตอบจะต้องมีการชั่งน้ำหนักและบันทึกน้ำหนักและนำมาเปรียบเทียบ
3.เพื่อให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์นั้นคือคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
4.เพื่อฝึกทักษะซึ่งเป็นความสามารถในการนับ,การวัด,การจับคู่,การจัดประเภท,การเปรียบเทียบ ,การลำดับ เป็นต้น
5.เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6.เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และอยากค้นคว้าทดลอง
อ.จ๋า

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

แสดงความคิดเห็นเพื่อการปรับปรุง



ตรวจดูและทำเชื่อมโยงให้เรียบร้อย

จิราภรณ์ สุภรส http://jirapornsao1.blogspot.com
ไม่มีการบันทึกทั้งสองครั้งและรายละเอียดยังไม่ปรากฏ

จิราภรณ์ ใจกล้า http://jirapon-kai043.blogspot.com
บันทึกครั้งที่1ไม่มีและครั้งที่สองยังไม่ได้เนื้อหาที่เรียนองค์ประกอบยังไม่ครบ

จิราวรรณ สีเหลื่อม http://jeab-cru.blogspot.com
ยังไม่มีการบันทึกและองค์ประกอบยังไม่ครบ

ณัฐพร นุยา http://aomnattaporn.blogspot.com
ยังไม่มีการบันทึกและองค์ประกอบยังไม่ครบ

ดุษฎี อภิญญาคม http://nongea.blogspot.com
เอ๋..ให้ไปดูข้อตกลงนะคะ และถ้าจะส่งบทความที่เราอาจเห็นว่าดีและไม่สามารถ Linkได้จะส่งในบทความก็ได้แต่ต้องบอกว่าเอามาจากที่ไหนและที่สำคัญให้บันทึกหลังเรียนทุกครั้ง เพลงที่ครูให้คุณร้องไม่ใช่เพลงที่ครูแต่งนะจ๊ะไม่ทราบว่าใครเป็นเจ้าของถ้าใครทราบก็บอกกันบ้างนะจ๊ะ

ธารทิพย์ ชิดจังหรีด http://oad-cru.blogspot.com
ยังไม่เห็นBlog

นฤมล บุญสันท์ http://4911201426golf.blogspot.com
ไม่มีบันทึกหลังการสอน ควรเลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา

นุตาวรรณ หมัดนุรักษ์ http://ineemath.blogspot.com
ไม่มีบันทึกหลังการสอน

พิราพร ประดับเสริฐ http://jolanguage.blogspot.com
ไม่มีบันทึกหลังการสอน

เพลินพิศ มั่งมูล http://plearnpichlanguage.blogspot.com
ไม่คืบหน้า

ภีรณัฐ พวงมณี http://mumumath.blogspot.com
ไม่มีบันทึกหลังการสอน

วราลี สมรภูมิ http://pimmyjubjub.blogspot.com
ไม่คืบหน้า

วัชรา ทิพเจริญ http://toey-crv.blogspot.com
ไม่มีบันทึกหลังการสอน

วิพาวดี ลิ่มมโนชฌ์ http://tweetymath.blogspot.com
มีบันทึกดี เพิ่มรายละเอียดองค์ประกอบจะดีมาก

สะกาวเดือน สงค์มา http://ongianguage.blogspot.com
ไม่มีบันทึกหลังการสอน ระวังงานซ้ำกัน

สายใจ อาชีวะ http://kungnang1.blogspot.com
ไม่คืบหน้า

สุนิดา ทิพประมวล http://noi-cru.blogspot.com
ไม่มีบันทึกหลังการสอน ดูข้อตกลงด้วย

สุวารี หอมรองบน http://suvaree-aum.blogspot.com
ควรเลือกภาพให้พอเหมาะดูข้อตกลงด้วย

อรุณกมล สืบพรม http://marukolanguage.blogspot.com
ไม่คืบหน้า

อัจฉราพรรณ สิทธิ์สีจัน http://matchaim.blogspot.com
ไม่คืบหน้า

อุบล ไตรภพ http://matchnungningka.blogspot.com
บันทึกหลังการสอนควรมีสาระที่เรียนรู้และดูตัวอักษรให้อ่านง่ายๆด้วย

ปาจรีย์ ทองสีนุช http://pacharee49.blogspot.com
บันทึกหลังการสอนควรมีสาระที่เรียนรู้และดูตัวอักษรให้อ่านง่ายๆด้วย

สิริพร อนันต์ http://kwanmath.blogspot.com
บันทึกหลังการสอนควรมีสาระที่เรียนรู้ เรื่องที่เลือกมาLinkควรเหมาะกับเด็กปฐมวัยด้วย

สุกานดา พันธุ์วิจิตร http://air-math.blogspot.com
ไม่คืบหน้า

พรรณนิภา อ่ำช่วย http://phannipalanguage.blogspot.com
ไม่มีบันทึกหลังการสอน

ทิตติยา เข็มภูเขียว http://furn-language.blogspot.com
ไม่ควรไปLinkกับบล็อคของคนที่ไปcopyมาใส่ในบทความและไปดูข้อตกลงตลอดจนพิจารณาเรื่องให้เหมาะกับเด็กปฐมวัยเลข22คงไม่ใช่จำนวนที่สอดคล้องของสิ่งที่นำเสนอBlog

เกศสินี เพิ่มญาติ http://kedsinee-ked.blogspot.com
ไม่คืบหน้า

กนกวรรณ ไข่ติยากุล http://lovekwang.blogspot.com
ไม่มีบันทึกหลังการสอน

ทบทวนข้อตกลง


ถึงนักศึกษาทุกท่าน
ครูให้ทุกคนบันทึกหลังสอนทุกครั้งที่เรียนในการส่งบทความโดยมีรายละเอียดที่สะท้อนว่าคุณเข้าใจและจดจำเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใดโดยขอเน้นย้ำว่าสิ่งที่คุณจะลงในบทความจะต้องเป็นสิ่งที่คุณแต่งเองเช่นนิทานหรือเพลงหรือเกมหรืองานที่ครูมอบหมาย ส่วนการLink คือการเชื่อมโยงสิ่งที่คุณหาจากแหล่งข้อมูลในอินเทอร์เนต เช่น บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ,งานวิจัย, เพลง, เกม ,นิทาน ,ตลอดจนหน่วยงานที่จะค้นคว้าข้อมูลหรือเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะอยู่ด้านข้าง ที่สำคัญขอให้ดูตัวหนังสือและสีที่ผู้คนสามารถจะอ่านออกด้วย อีกทั้งเรื่องที่หาขอให้เหมาะสมกับพัฒนาการในระดับอนุบาลด้วยคะ
อ.จ๋า

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เพลงคณิตศาสตร์

ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดสี่ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

จับปู
หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบที่หัวแม่มือ


นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว


นับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ


บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ



แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง (นับต่อไปเรื่อยๆ)
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน สิบวันได้ไข่สิบฟอง


ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้ น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลง นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(ลดจำนวนลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือหนึ่งตัว)
ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลง น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลง นับดูใหม่ไม่เหลือลูกแมวสักตัว

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ชื่นใจจริงๆ

สมาชิก Math 491(5)/5
ครูขอแสดงความชื่นชมกับความคล่องแคล่วและความว่องไวในงานที่ได้รับมอบหมาย
บางคนยังช้าอยู่บ้างแต่ก็น่าจะทำได้ดีในที่สุด อย่าให้ใครปรามาสเราได้ว่าเรียนเป็นครูอนุบาล
มีหน้าที่เพียงสอนนับเลข 1-10หรือท่อง ก-ฮเละพาเด็กไปเข้าห้องน้ำเท่านั้น
อ.จ๋า

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ยินดีต้อนรับเปิดภาคเรียนใหม่

สวัสดีนักศึกษาที่รักทุกท่าน วันนี้ทุกท่านต้องออกแบบ Blog เพื่อใช้เป็นแฟ้มสะสมผลงานของตนเอง
เพราะฉะนั้นวันนี้ทุกท่านต้องมี Blog Math for Early Childhood เป็นของตนเอง และครูจะประเมินองค์ประกอบ
ดังนั้นใครที่มีปัญหาและไม่คล่องในการใช้ คอมพิวเตอร์จะต้องพยายามนะคะ เพราะคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เนตเป็นเรื่องที่สำคัญสามารถช่วยให้คุณเรียนรู้ในโลกที่กว้างใหญ่และใกล้ตัวคุณมาก ขอให้พยายามนะคะ
สวัสดีคะ